คณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง วุฒิสภาร่วมกับคณะอนุกรรมาธิการด้านตลาดทุนและธุรกิจประกันภัย ลงพื้นที่ติดตามการบริหารจัดการท่าเทียบเรือ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว สร้างความเชื่อมั่น ความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต

วันนี้ (วันที่ 24 เมษายน 2567) ที่ท่าเทียบเรือยอร์ช เฮเว่น มารีน่า คณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง วุฒิสภาร่วมกับคณะอนุกรรมาธิการด้านตลาดทุนและธุรกิจประกันภัย นำโดย นางสาววิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง วุฒิสภา พร้อมด้วย นายกูรดิสถ์ จันทร์ศรีชวาลา รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่ 5 นายดุสิต เขมะศักดิ์ชัย เลขานุการคณะกรรมาธิการ เเละนายจิรชัย มูลทองโร่ย โฆษกคณะกรรมาธิการ พร้อมคณะ ลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เพื่อติดตามการบริหารจัดการท่าเทียบเรือยอร์ชขิงภาคเอกชนในพื้นที่ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง โดยพูดคุย กับคุณมยุรี หมาดสตูล ผู้จัดการทั่วไป ภูเก็ต ยอร์ช เฮเว่น มารีน่า เนื่องจากการท่องเที่ยวทางเรือ โดยเฉพาะเรือยอร์ชที่เดินทางเข้า – ออกในจังหวัดภูเก็ต มีแนวโน้มพุ่งต่อเนื่อง

ทั้งนี้ จากสถิติล่าสุดปี 2566 เพิ่มสูงถึง 159 ลำ และจังหวัดภูเก็ต เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่นักท่องเที่ยวนิยมมาท่องเที่ยว

และพบว่าเจ้าของเรือส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ มาจากประเทศอังกฤษ และแถบยุโรป และเป็นลูกค้าประจำ ทำให้การบริการอยู่ในระดับสากล ส่วนเรื่องของมาตรการความปลอดภัย มีเจ้าหน้าที่ได้รับการอบรมตามมาตรฐาน สร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวที่มีความปลอดภัย และไว้ใจเรื่องของการบริการ สร้างความประทับใจให้นักท่องเที่ยว และท่าเทียบเรือ ยอร์ช เฮเว่น มารีน่าแห่งนี้ รองรับได้ตั้งแต่เรือขนาดเล็กจนถึงเรือซุปเปอร์ยอรช์ขนาดใหญ่ เป็นมารีน่าที่มีมาตรฐานในทุกๆ ด้านเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ในส่วนของท่าเรือมีบริการพื้นฐานครบครัน มีระบบรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เป็นยอร์ชมารีน่าที่มีความพร้อม และเป็นที่ยอมรับของนักล่องเรือนานาชาติ

นางสาววิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง วุฒิสภา กล่าวโทษ การลงพื้นที่ของคณะ เพื่อติดตามการบริหารจัดการในการรองรับการขยายตัวของปริมาณเรือยอร์ชที่เข้ามาในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งทางกระทรวงคมนาคม ได้เร่งรัดในการพัฒนาท่าเรือ เพื่อรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ ตามนโยบายสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวของรัฐบาล เป็นการพัฒนาท่าเรือรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ครอบคลุมเส้นทางเดินเรือฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน รองรับการเดินเรือในเส้นทาง จากท่าเรือต้นทางที่สิงคโปร์ แวะเข้าจอดที่เกาะภูเก็ต และจังหวัดกระบี่ ซึ่งปัจจุบันโครงการพัฒนาท่าเทียบเรือรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ ณ ท่าเรือแหลมฉบัง และบริเวณฝั่งอันดามันอยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสม ความคุ้มค่า

นอกจากนี้ ในวันนี้จะมีการประชุมรับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับผลการดำเนินธุรกิจประกันภัย และการส่งเสริมธุรกิจประกันภัยของสำนักงาน คปภ. จังหวัดภูเก็ตติดตาม ณ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar